BREAD

หากพูดถึงเรื่องขนมปัง
เรามักจะนึกถึงขนมปังรูปแบบต่างๆ
เนื้อขนมปังหลากหลายแบบ
หรือ
สิ่งที่เพิ่มเติมเข้าไป ที่อยู่ใน/บนขนมปังนั้นๆ

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์
ขนมปังนั้นมีความสำคัญ
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปัสกา

ในเทศกาลปัสกาจะมีเทศกาลย่อยๆ 3 เทศกาลด้วยกันคือ

1. เทศกาลปัสกา (Pesach)

ปัสกา (Pesach) หมายถึง การผ่านเว้น (pass over)
ในสมัยที่คนอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์ พระยาห์เวห์ทรงนำการปลดปล่อยจากการเป็นทาส
ทรงสั่งให้คนยิวนำเลือดแกะมาทาที่วงกบประตูบ้าน
เพื่อให้ทูตแห่งความรณาของพระเจ้าได้ผ่านเลยไป ไม่ประหารบุตรหัวปี (อพย. 12:4-13)
สิ่งนี้เป็นเงา (Type) เล็งถึง พระเยซูคริสต์ที่ทรงเป็นพระเมษโปดก
หรือแกะปัสกาที่ถูกนำไปฆ่าและพระโลหิตที่หลั่งออก
เพื่อทำให้เราได้รับการผ่านเว้นจากการพิพากษา (ฮบ.9:22 )

2. เทศกาลกินประทานขนมปังไร้เชื้อ (Chag Matzah)

ขนมปังไร้เชื้อ (Matzah หรือ Matzo หรือ Matza)
Matzah มาทซะห์ คือ ขนมปังไร้เชื้อ (unleavened bread)
โดยปกติคนยิวจะรับประทานขนมปังแผ่นกลมๆที่มีเชื้อ เรียกว่า พิต้า (Pita)
แต่ในเทศกาลนี้คนยิวจะกินขนมปังปิ้งไร้เชื้อ (Matzah)
และกินผักรสขม เพื่อระลึกถึงความขมขื่นใจที่เป็นทาสในอียิปต์
นอกจากนี้จะมีการกำจัดเชื้อเก่าๆที่ได้รับอิทธิพลจากอียิปต์
พวกเขาจะชำระเชื้อในบ้านให้ปราศจากเชื้อ
เพื่อให้ตระหนักว่าผู้เชื่อต้องชำระเชื้อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ที่ได้รับการไถ่แล้วจากพระเยซูคริสต์

ในพระธรรมมัทธิว บทที่ 26:17-29 พระเยซูคริสต์ทรงร่วมฉลองเทศกาลปัสกาและรับประทานขนมปังไร้เชื้อ
และทรงได้ตั้งพิธีมหาสนิท เพื่อระลึกว่าพระองค์ทรงสละพระชนม์เพื่อไถ่บาปให้กับเรา
ดังนั้นขนมปังที่ใช้ทำพิธีมหาสนิทจึงควรเป็นขนมปังไร้เชื้อ
เล็งถึงพระกายของพระเยซูคริสต์ที่ปราศจากความบาป

ขนมปังพิต้า (Pita)
17 เมื่อ​วัน​ต้น​เทศกาล​กิน​ขนม​ปัง​ไร้​เชื้อ พวก​สาวก​มา​ทูล​ถาม​พระ​องค์​ว่า “จะ​ให้​ข้า​พระ​องค์​จัดเตรียมปัสกา​ให้​พระ​องค์​เสวย​ที่​ไหน
26 ระหว่าง​อาหาร​มื้อ​นั้น ​พระ​เยซู​ทรง​หยิบ​ขนม​ปัง​มา และ​เมื่อ​ถวาย​สาธุการ​แล้ว ทรง​หัก​ส่ง​ให้แก่​เหล่า​สาวก​ตรัส​ว่า “จง​รับ​กิน​เถิด นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา”
27แล้ว​พระ​องค์​จึง​ทรง​หยิบ​ถ้วย​โมทนา​พระ​คุณ​และ​ส่ง​ให้​เขา ตรัส​ว่า “จง​รับ​ไป​ดื่ม​ทุก​คน​เถิด​
28 ด้วย​ว่า​นี่​เป็น​โลหิตของ​เรา อัน​เป็น​โลหิต​แห่ง​พันธสัญญา ซึ่ง​ต้อง​หลั่ง​ออก​เพื่อ​ยก​บาป​โทษ​คน​เป็น​อัน​มาก​
29 เรา​บอก​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​น้ำ​ผล​แห่ง​เถา​องุ่น​ต่อไป​อีก​จน​วัน​นั้น​มาถึง คือ​วันที่​เรา​จะ​ดื่ม​กัน​ใหม่​กับ​พวก​ท่าน​ใน​แผ่นดิน​แห่ง​พระ​บิดา​ของ​เรา”

3. เทศกาลถวายผลแรก (ha’Bikkurim)

ลนต. 23:10-11
10“จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เมื่อพวกเจ้ามาถึงแผ่นดินซึ่งเราให้เจ้า และเกี่ยวพืชผลของแผ่นดินนั้น พวกเจ้าจงเอาพืชผลส่วนหนึ่งที่เก็บเกี่ยวในรุ่นแรกนำไปให้ปุโรหิต
11 และ​ปุโรหิต​จะ​นำ​ฟ่อน​ข้าว​นั้น ทำ​พิธี​ยื่น​ถวาย​แด่​พระยาห์เวห์เพื่อ​เจ้า​จะ​เป็น​ที่​โปรด​ปราน รุ่ง​ขึ้น​หลัง​วันสะบาโต​ปุโรหิต​จะ​ทำ​พิธี​ยื่น​ถวาย​

เทศกาลถวายผลแรกเป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแกะปัสกาที่ถูกฆ่าเพื่อชำระบาปผิดของเรา
และทรงเป็นขึ้นมาจากความตายเพื่อเป็นผลแรกเพื่อเราจะเป็นเช่นเดียวกับพระองค์ (1 คร.15:20-22)

การถวายผลแรก (first fruits) เป็นการแสดงออกถึงการขอบพระคุณสำหรับการจัดสรรของพระยาห์เวห์
เพราะเมื่อพวกคนอิสราเอลอยู่ในอียิป พวกเขาเป็นทาส
แต่เมื่อพวกเขาเป็นไทแล้วพวกเขาได้ทำการเพาะปลูกและเมื่อมีผลแรกพวกเขาได้นำผลแรกมาถวายแด่พระยาห์เวห์
นอกจากนี้จะเห็นถึงการเพิ่มพูนขึ้นจากการถวายผลแรกในเทศกาลปัสกา นับไปอีก 50 วันเป็นเทศกาลสัปดาห์ (Shavuot)
หรือเทศกาลเพ็นเทคอสต์ (Pentecost แปลว่า 50)

ลนต. 23:15-16
15 “ตั้งแต่​วันรุ่งขึ้น​จน​วันสะบาโต เจ้า​จง​นับ​ให้​ได้​ครบ​ 7​สัปดาห์​เต็มๆ (7X7=49วัน) คือ​นับ​จาก​วันที่​เจ้า​นำ​ฟ่อน​ข้าว​เข้า​มา​ทำ​พิธี​ยื่น​ถวาย​เป็น​ต้น​ไป​
16 นับไปให้ได้ 50 วัน จนถึงวันถัดวันสะบาโตที่ 7 แล้วเจ้าจงนำข้าวใหม่มาถวายแด่พระเจ้าเป็นธัญญบูชา
17 ​จง​นำ​ขนม​ปัง​ 2ก้อน​ทำ​ด้วย​แป้ง​ 2 กิโลกรัม​จาก​ที่​อาศัย​ของ​พวก​เจ้า​มา​ทำ​พิธี​โบก​ถวาย ให้​ทำ​ด้วย​แป้ง​อย่าง​ดี​ใส่​เชื้อ​ปิ้ง​เป็น​ผล​รุ่น​แรก​ถวาย​แด่​พระ​ยาห์เวห์

ขนมปัง Challah
สิ่งที่คนอิสราเอลได้นำมาถวายคือ ขนมปังคาลาห์ (Challah) 2 ก้อน
ที่ทำจากแป้งข้าวสาลีที่พวกเขาได้ถวายให้กับพระยา์เวห์
เมื่อการถวายผลแรกในเทศกาลปัสกา แต่ครั้งนี้เป็นขนมปังใส่เชื้อเข้าไป
ในเทศกาลปัสกาพวกเขากินขนมปังไร้เชื้อมาทซะห์ (Matzah)
ให้ความหมายถึงเชื้อเก่าของอิยิปต์(วิถีความเป็นทาส) ได้ถูกชำระไปแล้ว
และเชื้อแห่งความเป็นไทที่ใส่เข้าไปได้ทำให้เกิดการเกิดผลทวีคูณมากขึ้น
ดังนั้นการถวายผลแรกในเดือนนิสานจึงเป็นความสำคัญเพราะเป็นการถวายผลแรกของปี
เนื่องจากเดือนนิสานเป็นเดือนแรกที่พวกเขาออกจากการเป็นทาส
เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่พระยาห์เวห์ทรงเปลี่ยนชื่อเดือนใหม่
จากเดือนอาบีบ (Aviv) เป็นเดือนนิสาน (Nisan)
หมายถึงวงจรแห่งพระพรของพระองค์ได้ถูกสถาปนาใหม่ให้กับคนของพระองค์
เพื่อพระองค์จะทรงอวยพระพรให้เกิดการทวีคูณมากขึ้น
ขอพระยาห์เวห์ทรงอวยพระพร